อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
(Heat Detector)
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนที่นิยมใช้กันมีดังต่อไปนี้
1. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ (Electronic Heat Detector Rate-of-Rise)
อุปกรณ์ชนิดนี้จะทํางานเมื่อมีอัตราการเพิ่ม ของ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ 10 องศาเซลเซียสใน 1 นาที ส่วนลักษณะการทํางาน คือ เมื่ออากาศในส่วนด้านบนของส่วนรับความร้อนเกิดถูกความร้อน จะขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก จนอากาศที่ขยายไม่สามารถเล็ดลอดออกมาในช่องระบายได้ ทําให้เกิดความดันสูงมากขึ้น และไปดันแผ่นไดอะแฟรมให้ไปดันขาคอนแทคแตะกัน ทําให้อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนนี้ส่งสัญญาณไปแจ้งเหตุยังตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย
2. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอุณหภูมิคงที่(Electronic Heat Detector/Fixed Temperature)
อุปกรณ์ชนิดนี้จะทํางานก็ต่อเมื่ออุณหภูมิของ Sensors สูงถึงจุดที่ได้กําหนดไว้ ซึ่งมีตั้งแต่ 60 องศาเซลเซียส ไปจนถึง 150 องศาเซลเซียสในการทํางานจะอาศัยหลักการของโลหะ 2 ชนิด เมื่อถูกความร้อน แล้วเกิดมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวแตกต่างกัน โลหะทั้งสองจะมาแนบติดกัน (Bimetal) ทําให้โลหะเกิดการบิดตัว และ โค้งงอไปอีกด้านหนึ่ง ก็จะทำให้เกิดมีการขยายตัวที่ แตกต่างกัน เมื่ออุณหภูมิลดลงก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิม
3. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดรวม (Combination Heat Detector) โดยอุปกรณ์ชนิดนี้จะรวมเอา
ทั้งคุณสมบัติในการตรวจจับ แบบ Fixed Temperature และ Rate of Rise เข้ามาอยู่ใน อุปกรณ์ ตัวเดียวกัน เพื่อการตรวจจับความร้อนที่เกิดขึ้นได้ทั้งสองลักษณะ และเพิ่มความไวในการตรวจ จับให้ดีขึ้น อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบ Electronic Heat Detector ทั้ง 3 แบบที่กล่าวไปนั้น ในการนำไปใช้งานสามารถที่จะเทสทดสอบ การทำงานจริงของอุปกณณ์ก่อนได้ แล้วหากเกิด เหตุเพลิงไหม้ขึ้น ตัวอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนเมื่อทำการตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ไปได้แล้ว ตัวอุปกรณ์ตรวจจับชนิดนี้ ก็จะยังคงใช้งานได้ตามปกติ
4. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิด Mechanical Heat Detectors จะเป็นอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
แบบที่รวมทั้ง ระบบ Fixed Temperature และ Rate of Rise เข้ามาทำงานร่วมกันในอุปกรณ์ตัว เดียวกัน แต่การตรวจจับ แบบ Fixed Temp แผ่นโลหะที่นำมาใช้ในการควบคุมความร้อนเวลา ตรวจจับ จะไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ เมื่อเวลาที่เหตุเพลิงไหม้ดับเป็นปกติแล้ว และ อุปกรณ์ชนิด Mechanical นี้ ก็ไม่สามารถนำไปเทสทดสอบ การทำงานจริงของตัวอุปกรณ์ได้ เพราะถ้ายังนำไปทดสอบ แผ่นโลหะในการตรวจจับความร้อนก็จะบิดตัวและโค้งงอไปเลย ไม่ สามารถใช้งานตรวจจับความร้อนได้อีกต่อไป ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองทำให้อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ชนิด Mechanical Heat Detectors จึงมีราคาขายที่ถูกมากๆ
แหล่งอ้างอิง http://www.vecthai.com/main/?p=4689
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น